เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรีจิกํ คือพยับแดด จริงอยู่ พยับแดด
แม้ปรากฏขึ้นแต่ที่ไกลเทียว ด้วยสามารถมีสัณฐานดังสัณฐานเรือนเป็นต้น
เป็นของเข้าถึงความเป็นรูปที่ถือเอามิได้ เป็นของว่างเปล่าแท้ (ย่อม
ปรากฏ) แก่คนทั้งหลายผู้เข้าไปใกล้อยู่, เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า
" พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งโลกมีขันธ์เป็นอาทิ
เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วแตกไป (และ)
เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด เพราะความเป็นธรรมชาติว่างเปล่าเป็น
อาทิ ฉะนั้น. "
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ในที่แห่ง
ตนยืนนั่นเอง ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา จบ.

4. เรื่องอภัยราชกุมาร [140]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมาร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ " เป็นต้น.

พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ


ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้
สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทาน
หญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทาน
ราชสมบัติสิ้น 7 วัน. อภัยราชกุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราช-
มนเฑียรเลย. เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น 7 วัน เสด็จไปสู่ท่า
แม่น้ำในวันที่ 8 ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับ
นั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหาอำมาตย์.
ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา
ดุจหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมารมีความโศกเกิดขึ้นแล้ว
เพราะกาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า " ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย
จักไม่อาจเพื่อให้ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์
ดับเถิด. "

อุบายระงับความโศก


พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า " กุมาร ก็ประมาณ
แห่งน้ำตาทั้งหลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้
นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใคร ๆ รู้ไม่ได้ "